top of page
  • รูปภาพนักเขียนSCC Online

กว่าจะเป็นกระดาษแต่ละแผ่นต้องทำอย่างไรบ้าง

อัปเดตเมื่อ 24 พ.ค. 2564


กว่าจะเป็นกระดาษแต่ละแผ่น มีวิธีทำอย่างไร วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีทำกระดาษไปด้วยกัน

คำว่า "กระดาษ" สันนิษฐานว่าน่าจะเพี้ยนมาจากภาษาโปรตุเกสคำว่า คาร์ดาดส์ (cartads) ที่หมายถึง แผ่นเขียนอักษรหรือจดหมาย ที่ชาวโปรตุเกสเรียก ในคราวที่เข้ามาค้าขายกับไทยช่วงสมัยอยุธยา


กระดาษ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเยื่อไม้ นำมาต้มแยกเยื่อเพื่อให้เป็นเส้นใยที่เปื่อยและละเอียด ก่อนจะผสมสารจากนั้นนำไปรีดออกมาเป็นแผ่นกระดาษ


หัวข้อทั้งหมด


ขั้นตอนที่ 1 การทำเยื่อกระดาษ

เยื่อกระดาษสามารถพบได้ในต้นไม้ ซึ่งต้นไม้ที่นิยมนำทำจะมีอายุ 3-5 ปี โดยในอดีตต้นไม้ที่นำมาผลิตกระดาษมักจะถูกตัดมาจากในป่า แต่ในปัจจุบันต้นไม้ที่นิยมนำใช้จะเป็นต้นกระดาษ (เป็นต้นไม้ที่ปรับแต่งพันธุกรรมมาจากต้นยูคาลิปตัส) ซึ่งเป็นต้นเดียวกันกับที่เกษตรกรปลูกไว้ตามคันนานั่นเอง หลังจากตัดต้นไม้เหล่านั้นมาแล้ว ก็จะนำมากะเทาะเปลือก เพื่อนำไปผลิตเป็นเยื่อกระดาษต่อไป โดยเยื่อกระดาษสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่ เยื่อกระดาษเชิงกลหรือเยื่อบด (Mechanical Pulp), เยื่อกระดาษเคมี (Chemical Pulp), เยื่อกระดาษกึ่งเคมี (Semi-chemical Pulp)

เยื่อกระดาษสามารถพบได้ในต้นไม้ ซึ่งต้นไม้ที่นิยมนำทำจะมีอายุ 3-5 ปี โดยในอดีตต้นไม้ที่นำมาผลิตกระดาษมักจะถูกตัดมาจากในป่า แต่ในปัจจุบันต้นไม้ที่นิยมนำใช้จะเป็นต้นกระดาษ (เป็นต้นไม้ที่ปรับแต่งพันธุกรรมมาจากต้นยูคาลิปตัส) ซึ่งเป็นต้นเดียวกันกับที่เกษตรกรปลูกไว้ตามคันนานั่นเอง หลังจากตัดต้นไม้เหล่านั้นมาแล้ว ก็จะนำมากะเทาะเปลือก เพื่อนำไปผลิตเป็นเยื่อกระดาษต่อไป โดยเยื่อกระดาษสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่ เยื่อกระดาษเชิงกลหรือเยื่อบด (Mechanical Pulp), เยื่อกระดาษเคมี (Chemical Pulp), เยื่อกระดาษกึ่งเคมี (Semi-chemical Pulp)


ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมน้ำเยื่อ

การเตรียมน้ำเยื่อมีไวเพื่อทำให้กระดาษสามารถนำมาขึ้นรูปได้ ซึ่งทำได้โดยการนำเยื่อกระดาษไปบด เพื่อทำให้เส้นใยยึดเกาะกันได้ดีขึ้น จากนั้นจะเป็นการผสมหรือใส่สารเติมแต่งชนิดต่าง ๆ และอาจมีการนำเยื่อไม้มากกว่า 1 ชนิดมาผสมเพื่อลดต้นทุนและเพื่อให้เหมาะสำหรับการนำไปใช้งาน โดยส่วนผสมที่ได้นี้เรียกว่า “น้ำเยื่อ” หรือ “สต็อก” นั่นเอง

การเตรียมน้ำเยื่อมีไวเพื่อทำให้กระดาษสามารถนำมาขึ้นรูปได้ ซึ่งทำได้โดยการนำเยื่อกระดาษไปบด เพื่อทำให้เส้นใยยึดเกาะกันได้ดีขึ้น จากนั้นจะเป็นการผสมหรือใส่สารเติมแต่งชนิดต่าง ๆ และอาจมีการนำเยื่อไม้มากกว่า 1 ชนิดมาผสมเพื่อลดต้นทุนและเพื่อให้เหมาะสำหรับการนำไปใช้งาน โดยส่วนผสมที่ได้นี้เรียกว่า “น้ำเยื่อ” หรือ “สต็อก” นั่นเอง


ขั้นตอนที่ 3 การทำให้เป็นแผ่นกระดาษ

ในขั้นตอนนี้น้ำเยื่อจะถูกลำเลียงไปยังเครื่องทำเยื่อแห้ง เพื่อทำให้น้ำเยื่อแห้งและนำไปทำเป็นแผ่นกระดาษได้ โดยขั้นตอนการทำให้กระดาษขึ้นรูปเป็นแผ่นมีดังนี้ 1.เมื่อเยื่อกระดาษมาถึงเครื่องทำเยื่อแห้ง จะมีตระแกรงแผ่นเล็ก ๆ  รองเยื่อกระดาษเอาไว้ ส่งผลให้น้ำที่อยู่ในเยื่อกระดาษเล็ดลอกออกไปได้และทำให้เยื่อกระดาษแห้ง 2.หลังจากที่เยื่อกระดาษผ่านการกรองน้ำในเบื้องต้นแล้ว จะถูกลำเลียงเข้าสู่ส่วนที่ใช้รีดน้ำเพิ่มเติมโดยจะมีลูกกลิ้งขนาดใหญ่กดทับเพื่อรีดน้ำที่อยู่ในเยื่อกระดาษออกไปทั้งหมด  และทำให้เยื่อกระดาษติดเป็นแผ่นไปในคราวเดียวกัน 3.เครื่องจะทำการซับน้ำอีกรอบหนึ่ง และหลังจากนั้นจะถูกนำเข้าเครื่องอบประมาณ 5-7 นาที เพื่อทำให้เยื่อกระดาษคงเหลือน้ำเอาไว้ประมาณ 4-5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักกระดาษทั้งหมด 4.หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมดก็จะได้เป็นแผ่นกระดาษขนาดใหญ่ รอการตกแต่งผิวและการตัดแบ่งเป็นลำดับต่อไป  หลังจากที่เสร็จสิ้นกระบวนทั้ง 4 ขั้นตอนการขึ้นรูปแผ่นแล้ว ก็ยังไม่ถือว่าเสร็จสินกระบวนการผลิตกระดาษค่ะ เราจะต้องนำกระดาษที่ได้ไปตกแต่งด้วยการผิวขัดผิวกระดาษให้เรียบลื่น หรือเคลือบผิวกระดาษให้เรียบเงา จึงจะถือว่าเป็นอันเสร็จสิ้น จากนั้นจึงนำมาตัดตามขนาดที่ต้องการ โดยส่วนใหญ่จะมีจำนวน 1 รีมหรือ 500 แผ่น

ในขั้นตอนนี้น้ำเยื่อจะถูกลำเลียงไปยังเครื่องทำเยื่อแห้ง เพื่อทำให้น้ำเยื่อแห้งและนำไปทำเป็นแผ่นกระดาษได้ โดยขั้นตอนการทำให้กระดาษขึ้นรูปเป็นแผ่นมีดังนี้

1.เมื่อเยื่อกระดาษมาถึงเครื่องทำเยื่อแห้ง จะมีตระแกรงแผ่นเล็ก ๆ รองเยื่อกระดาษเอาไว้ ส่งผลให้น้ำที่อยู่ในเยื่อกระดาษเล็ดลอกออกไปได้และทำให้เยื่อกระดาษแห้ง

2.หลังจากที่เยื่อกระดาษผ่านการกรองน้ำในเบื้องต้นแล้ว จะถูกลำเลียงเข้าสู่ส่วนที่ใช้รีดน้ำเพิ่มเติมโดยจะมีลูกกลิ้งขนาดใหญ่กดทับเพื่อรีดน้ำที่อยู่ในเยื่อกระดาษออกไปทั้งหมด และทำให้เยื่อกระดาษติดเป็นแผ่นไปในคราวเดียวกัน

3.เครื่องจะทำการซับน้ำอีกรอบหนึ่ง และหลังจากนั้นจะถูกนำเข้าเครื่องอบประมาณ 5-7 นาที เพื่อทำให้เยื่อกระดาษคงเหลือน้ำเอาไว้ประมาณ 4-5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักกระดาษทั้งหมด

4.หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมดก็จะได้เป็นแผ่นกระดาษขนาดใหญ่ รอการตกแต่งผิวและการตัดแบ่งเป็นลำดับต่อไป


หลังจากที่เสร็จสิ้นกระบวนทั้ง 4 ขั้นตอนการขึ้นรูปแผ่นแล้ว ก็ยังไม่ถือว่าเสร็จสินกระบวนการผลิตกระดาษค่ะ เราจะต้องนำกระดาษที่ได้ไปตกแต่งด้วยการผิวขัดผิวกระดาษให้เรียบลื่น หรือเคลือบผิวกระดาษให้เรียบเงา จึงจะถือว่าเป็นอันเสร็จสิ้น จากนั้นจึงนำมาตัดตามขนาดที่ต้องการ โดยส่วนใหญ่จะมีจำนวน 1 รีมหรือ 500 แผ่น


จะเห็นได้ว่ากว่าจะมาเป็นกระดาษให้เราใช้อยู่ในทุกวันนี้มีขั้นตอนกระบวนการผลิตมากมายและต้องสูญเสียต้นไม้ไปมาก แต่เพื่อที่จะลดการสูญเสียที่เกิดขึ้น ทางสุขสวัสดิ์จึงเลือกใช้กระดาษที่ถูกตัดจากป่าปลูก (FSC/PEFC) เพื่อทำให้ป่าไม้ธรรมชาติอยู่กับเราได้ดังเดิมค่ะ


อ้างอิง:

- บทความ กระดาษและวิธีทำกระดาษ, เข้าถึงจาก Puechkaset.com



โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด
bottom of page